Macaron
Macaron อ่านว่า "มะกาฮอง"
(บ้างก็อ่าน มากาครอง หรือ มากาครง ค่ะ)
เป็นขนมของชาติฝรั่งเศส
Macaroon อ่านว่า "มะคารูน"
คำว่า "Macaroon" เป็นภาษาอังกฤษของคำว่า "Macaron"
เพิ่มสระ "O" เข้ามาอีก 1 ตัว แล้วอ่านออกเสียเป็น "รูน" แทน "ฮอง"
มันเป็นขนมที่ดัดแปลงมาจาก Macaron ของฝรั่งเศส
โดยชาวอเมริกัน และชาวยุโรปในบางประเทศค่ะ
Macaroon
เพราะหน้าตาของเจ้าขนมนี่ ในบางครั้งก็ไม่ได้ผิดเพี้ยนแตกต่างกันแต่ประการใด
ร้านค้าเบเกอรี่แท้ๆ ชื่อดังของฝรั่งเศสอย่าง Laduree
ก็เรียก "Macaron" ว่า "Macaroon" ในเว็บไซต์ภาษาอังกฤษของทางร้านค่าา ^^
(เว็บไซต์น่ารักมากๆ >.<)
จบเรื่องชื่อของมันกันเถอะค่ะ เพราะมีการออกเสียงแตกต่างกันไปตามความเข้าใจค่ะ >.<"
เจ้าขนม มากาครอง เป็นขนมที่จัดอยู่ในพวก เมอแรงค์ (Meringue)
ซึ่งเป็นชนิดของขนม มักจะเกี่ยวข้องกับอาหารสวิสเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส
ที่ทำจาก วิปปิ้ง ไข่ขาว และน้ำตาล
มากาครองทำด้วย ไข่ขาว, น้ำตาลไอซิ่ง, น้ำตาลทราย, ผงอัลมอนด์
หรือ อัลมอนด์บด และ
สีผสมอาหาร
Jam
Buttercream
Ganache
The History of It.
ในปัจจุบันเราอาจจะพบเห็นมากาครองที่มีหลายรสชาติมากขึ้น
ซึ่งต่างไปจากแบบดั้งเดิม เนื่องจากปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
และแม้ว่าส่วนใหญ่แล้ว ขนมฝรั่งเศสจะมีการถกเถียงกันมากเกี่ยวกับต้นกำเนิดของมัน
แต่จากหนังสือเรื่อง Larousse Gastronomique
ซึ่งเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับอาหารฝรั่งเศส ได้อ้างอิงไว้ว่า..
เจ้าขนมมากาครอง กำเนิดขึ้นเมื่อปี 1791 ใน Convent ใกล้กับ Cormery
บางคนถึงกับสืบเสาะหาต้นกำเนิดของเจ้ามากาครอง
ถึงพ่อครัวขนมอิตาเลี่ยนที่มากับ Catherine de' Medici
ภรรยาของ เฮนรี่ที่สองของฝรั่งเศส
ในยุค 1830 มากาครองจะถูกเสิร์ฟมาพร้อมกับ แยม และเครื่องเทศ
ในปัจจุบันนี้มากาครองถูกเรียกว่า "Gerbet" หรือ "Paris macaron" มากาครองปารีส >.<
และถูกสร้างขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 20
โดย Pierre Desfontaines แบรนด์ขนม Ladurée แห่งฝรั่งเศส !!
ในช่วงปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครองของฝรั่งเศส
ซึ่งเป็นยุคที่ข้าวยากหมากแพง !!
มิชชั่นนารี (missionary) ชาวอิตาลีที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสต้องหาวิธีดำรงชีพจากอัลมอนด์
น้ำตาล และไข่ขาว ซึ่งเป็นของที่ราคาไม่แพง แต่มีคุณค่าทางอาหาร
ริเริ่มเอาของทั้งสามอย่างนี้ตีรวมกัน แล้วเข้าอบในเตาอบ
หลังจากอบเสร็จจะมีลักษณะคล้ายจานบินเล็กๆ
ด้านนอกจะกรอบ แต่ด้านในนั้นเมื่อกัดเข้าไปแล้ว ทุกอณูนิ่มจนละลายในปากได้เลยทีเดียว
ด้วยรสชาติที่หอมหวาน วัตถุดิบที่หาง่าย มากาครองจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
จนกระทั่งต่อมา มีผู้นำมากาครอง 2 อันมาประกบกัน แล้วนำไส้มายัดไว้ตรงกลาง
กลายเป็นรูปแบบของมากาครองที่นิยมมาจนทุกวันนี้ !! ^.^~
เค้าบอกกันว่าที่ฝรั่งเศสร้านขนมที่ได้รับการยอมรับว่าอร่อยที่สุด
คือร้าน Pierre Herme' ได้รับฉายาว่า "Master Macaron"
มีสาขาทั่วทั้งยุโรป และหมดเกลี้ยงทุกวันเลยล่ะค่ะ o_O
หลายๆ เมืองในภูมิภาคของประเทศฝรั่งเศส เช่น..
Lorraine ( Nancy and Boulay ), Basque Country ( Saint-Jean-de-Luz ),
Saint-Emilion , Amiens , Montmorillon , Le Dorat , Sault , Chartres ,
Cormery Joyeuse and Sainte-Croix in Burgundy.
จะมีรูปแบบของ มากาครอง โดยเฉพาะที่โดดเด่น ในแต่ละเมืองค่ะ
Macaron de Nancy
ส่วนในประเทศ Switzerland จะมี Luxemburgerli ซึึงเหมือนกับ มากาครองของฝรั่งเศส
เพียงแต่จะมีน้ำหนักเบากว่า มันมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 ซม. o_O
Luxemburgerli
ในญี่ปุ่นนิยมเรียก "Macarons" ว่า "Makaron"
นอกจากนั้นยังมีอีกชื่อเรียกนึงของแป้งถั่วลิสง
สำหรับอัลมอนด์ที่ปรุงแต่งรสชาติในสไตล์ Wagashi
(Wagashi เป็นขนมที่เสิร์ฟคู่กับน้ำชา ทำจากเค้กข้าวกับถั่วแดง)
เป็นที่แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น
Wagashi
มากาครองเป็นที่นิยมในเกาหลีใต้
ออกเสียงเป็น "ma-ka-rong"
เมื่อต้องการเพิ่มรสชาติที่ออกมาทางเอเชีย
ก็จะเพิ่ม ผง หรือ ใบ ชาเขียวลงไป
เพื่อทำเป็นมากาครองกรีนที
Green tea Macarons
ข้อมูลจากบล็อกๆ นึงค่ะ ไปเจอมาเลยอยากมาแนะนำต่อค่ะ
เค้าบอกว่าจะพาไปชิมมากาครองทั่วโลกเลยล่ะค่ะ >.<
เจ้าขนมหน้าตาน่ารักนี้เริ่มจะเข้ามาฮิตในบ้านเราแล้วนะคะ
หลากหลายยี่ห้อ เริ่มมาให้คนไทยได้เลือกสรรลิ้มลอง เจ้าขนมจากปารีส
ที่ได้ฮิตติดลมบนมาแล้วในนครใหญ่ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะโตเกียวหรือนิวยอร์ค !!
ร้าน Ladurée ค่ะ
Ladurée ถือเป็นร้านแรกๆ ที่บุกเบิกวัฒนธรรมการนั่งทานน้ำชาแบบสวยๆ เก๋ๆ
มีกลิ่นอายของชาวปารีสเต็มๆ ไม่ว่าจะพิธีรีตองที่มากมาย
หรือรายละเอียดในชุดน้ำชายามบ่าย
โทนสีของร้าน และแพตเกจ จะออกเป็นโทนสีพาสเทล
ตัดกับสีทองเพิ่มความสวยหรูแบบปารีสค่ะ
..........................................
ร้านต่อมา Pierre Hermé ร้านนี้ดูท่าจะเริ่ดจริงๆ นะคะเนี่ย
รสชาติที่คิดค้นขึ้นใหม่ ผิวหน้าเนียนเด้ง เงาวาววับ กรอบนอกแต่นุ่มใน
บรรยากาศร้านของ Pierre Hermé จะเป็นแนวโมเดิร์น เรียบหรู เก๋ และเนี๊ยบ
ของทางร้านก็กิ๊บเก๋ มีแบบเป็นวงล้อ Macaron ด้วย
..........................................
ถัดมาก็ร้าน Sadaharu Aoki ค่ะ
ร้านนี้สร้างสรรค์โดยเชฟ Aoki ชาวญี่ปุ่น
ที่ไปโด่งดังแบบพลุแตกที่ฝรั่งเศสเลยค่ะ
Macaron ของ Aoki นั้นโดดเด่น และแตกต่างด้วยเหตุผลที่ว่า..
Aoki พยายามใส่กลิ่นอาย และรสชาติของความเป็นญี่ปุ่น
เข้าไปในทุกๆ รสชาติของ Macaron ของเขาค่ะ
รวมทั้งร้าน และทุกรายละเอียดการออกแบบของ Sadaharu Aoki
ที่นอกจากจะดูดีแบบน่ารักน่ากอดแล้ว
ทุกอย่างยังสะท้อนถึงการใส่ใจในรายละเอียดอีกด้วย
เช่นกล่องใส่ macarons หากคุณสั่งกลับบ้าน Sadaharu Aoki
เป็น 1 ในไม่กี่ร้านที่มีถาด Macaron แยกแต่ละอันออกจากกัน
เพื่อไม่ให้ผิวหน้าที่แสนจะนวลเนียน
แต่บอบบางกระแทกกันระหว่างทางค่ะ >.<
สมกับความละเมียดละไมแบบฉบับญี่ปุ่นเค้าจริงๆ ค่ะ
..........................................
ร้านนี้ La Maison du Chocolat
ถ้าเป็น Macaron ในนิวยอร์ค ณ ปัจจุบัน ล่ะก็
น่าจะหนีไม่พ้น Macaron จาก La Maison du Chocolat
ที่ Madison Avenue ค่ะ
ชื่อฝรั่งเศสจ๋าซะขนาดนี้ แต่เก็บความเป็นเจ้าบ้าน Macaron มาอย่างเต็มเปี่ยม
ทั้งหน้าตา และรสชาติ เพราะว่าทางร้านนำเข้า Macaron ที่ส่งตรงมาจากปารีสเลย
ไม่ต้องห่วงเรื่องความสดเลยนะคะ
เพราะรสชาติเหมือนทานที่ฝรั่งเศส ไม่มีอะไรขาดตกบกพร่องค่ะ >,<
..........................................
Paulette Macarons ร้านนี้จาก California สหรัฐอเมริกา
ถึงแม้จะหน้าตาเหมือน Macaron ทั่วไปก็ตาม
ถึงแม้จะหน้าตาเหมือน Macaron ทั่วไปก็ตาม
แต่การสร้างสรรค์ และลูกเล่นมากมายในรสชาติใหม่ๆ
และรายละเอียดแบบโมเดิร์น
ที่สำคัญ Paulette Macarons ยังเป็น 1 ในไม่กี่ร้านดังที่ยังทำ Macaron ด้วยมือ
ไม่ใช้เครื่องจักร !! o_O
..........................................
เดินทางต่อกันมาที่ร้าน Canele Patisserie Chocolaterie ค่ะ
Macaron หน้าตาดีที่สรรสร้างโดยเชฟ Pang
ทำให้สิงค์โปร์ได้มี Macaron แสนอร่อย ที่หาทานได้ง่ายๆ
เพราะรสชาติไม่แพ้ต้นตำรับที่ฝรั่งเศสเลยค่ะ
แถมเชฟ Pang ยังเอาใจสาวก Macaron
โดยการจัด Macaron Festival แล้วปล่อย 6 รสชาติใหม่ในทุกๆ ปีค่ะ
..........................................
ร้าน Cafe Vue ที่ออสเตรเลียก็มี Macarons แสนอร่อยเช่นกันค่ะ
เป็นร้านนั่งทานชากาแฟที่แยกตัวออกมาจากร้านอาหารฝรั่งเศสในตำนานของเมลเบิร์น Vue de Monde
แม้รสชาติจะสู้รุ่นใหญ่อย่าง Laduree หรือ Pierre ไม่ได้ แต่ก็ถือว่าอร่อยค่ะ
แม้รสชาติจะสู้รุ่นใหญ่อย่าง Laduree หรือ Pierre ไม่ได้ แต่ก็ถือว่าอร่อยค่ะ
จบการทัวร์แล้วค่าา ^^
Read more: http://ipicktravel.com/blog/macarontour#ixzz1v8iKBZlU
Under Creative Commons License: Attribution
Under Creative Commons License: Attribution
..........................................
ขอลากันด้วยสีสันอันสดใส ชวนให้ละเมอไปกับความน่ารักของ Macaron นะคะ >.<
..........................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น