วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การจัดโต๊ะฉบับเต็ม


เคยไหมเวลาไปทานร้านอาหารแบบตะวันตกแล้วรู้สึกไม่คุ้นเคยหรือเขินๆ อยู่บ้าง กับวิธีการดูแล การเสิร์ฟอาหาร หรืออุปกรณ์บน

โต๊ะที่จัดไว้บริการเรา

          ขอนำทุกคนมาเปิดประสบการณ์เรียนรู้ธรรมเนียมพื้นฐานร้านอาหารตะวันตกกัน Table Setting  หรือการจัดโต๊ะสำหรับ

รับประทานอาหารของฝรั่งนั้นนิยมทานเป็นจานเดี่ยวของใครของมัน แตกต่างจากคนเอเชีย ที่นิยมแบบจานรวมหรือแบ่งปันกัน

ทานในจานใหญ่ดังนั้นสังเกตง่ายๆ การจัดโต๊ะแบบอาหารฝรั่งจึงเป็นไปตามลักษณะการกิน และลำดับการใช้อุปกรณ์ช้อนส้อม

นั่นเอง

          เมื่อเห็นอุปกรณ์เต็มโต๊ะ ยังไม่ต้องมึน เพียงแค่แยกเป็น 2 กลุ่ม ก็จะเข้าใจง่ายขึ้นทันที กลุ่มดื่ม จะวางอยู่ตลอดงาน ส่วน

กลุ่มทาน จะถูกใช้ทีละชุดแล้วถูกเก็บไปจนหมดเมื่อจบการรับประทานแบ่งง่ายๆ เป็นสอง กลุ่ม คือ กลุ่มทาน และกลุ่มดื่ม

A. กลุ่มทาน

โดยมาตรฐานการทานอาหารมื้อเต็มของชาวตะวันตกนั้นจะประกอบไปด้วย3ลำดับ ดังต่อไปนี้

อาหารเรียกน้ำย่อย(Starter)

อาหารจานหลัก(Main Course)

ของหวาน(Dessert)

นอกเหนือจาก3ลำดับนี้จากที่สังเกตเห็นภาพการจัดโต๊ะฉบับเต็มจะมีจานขนมปัง” (Bread plate or side plate) 

จานขนมปังนี้ส่วนมากจะใช้ช่วงเริ่มต้นเมื่อแขกเข้ามานั่งโต๊ะและสั่งอาหารร้านอาหารตะวันตกจะเสิร์ฟขนม ปังพร้อมเนยเพื่อรอง

ท้อง ขณะที่แขกรออาหารที่สั่งไป *ในบางที่จานขนมปังอาจถูกเก็บขึ้นเมื่อเสิร์ฟอาหารจาน หลัก

B. กลุ่มดื่ม

ก่อนที่ทุกอย่างจะเริ่มต้นจนปิดท้ายจะมีเครื่องดื่มที่มีความพิเศษหรือธรรมดาแล้วแต่โอกาส ส่วนมากมีน้ำเปล่าไวน์ขาว และไวน์

แดงเป็นมาตรฐาน
1. น้ำเปล่า : เสิร์ฟตลอดงาน

2. ไวน์ขาว : นิยมเสิร์ฟตอนเริ่มต้น อาจเป็นช่วงระหว่างรออาหารเรียกน้ำย่อย แขกจะได้จิบและพูดคุยกับผู้ร่วมวงอย่างราบรื่น

3. ไวน์แดง : อาจเสิร์ฟตั้งแต่เริ่มต้นหรือเปลี่ยนจากไวน์ขาวเมื่อเริ่มทานอาหารจานหลักเนื่องจากไวน์แดงนิยมคู่กับอาหารคาว

4. ชาหรือกาแฟ : เครื่องดื่มปิดท้ายที่เสิร์ฟพร้อมช่วงของหวานนั่นเอง

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ชูครีม เอแคลร์ ต่างกันยังไง ?


ชูครีม เอแคลร์ ขนมสองอย่างนี้หลายๆคนก็คงจะเคยกินกันแล้วใช่มั้ยคะ
 
แล้วเคยสงสัยกันมั้ยว่า ชูครีมกับเอแคลร์นั้น จริงๆแล้ว มันต่างกันยังไง
 
วันนี้เราเลยเอาความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝากกันค่ะ
 
 
 ขนมเอแคลร์ (Eclair)

ของชาวฝรั่งเศสนั้น มันไม่ได้กลมๆฟูๆ แต่จะมีลักษณะ รีๆยาวๆ

ส่วนไส้ที่อยู่ข้างในโดยมากจะมีสองรส คือไส้ช็อคโกแลต

หรือกาแฟ ไม่ได้ใส่ไส้ครีมแบบเอแคลร์บ้านเรา
 
 
 
 
 

 
 

 
ส่วนขนมที่เราเรียกว่า เอแคลร์ ความจริงแล้วมันก็คือ ชูครีม (Chu~Cream)
 
 
 
 
 

 
 
 
 
ประวัติความเป็นมาของ Chu~ Cream
 
ชู ครีม เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งมาจากประเทศฝรั่งเศส เดิมเรียกว่า ชู อา ลาเครม์

ซึ่งความหมายของคำแต่ละคำก็คือ 

                                                    ชู            หมายถึง กะหล่ำปลี 

                                                    ลาเครม์    หมายถึง ครีม 
 
                  ชู อา ลาเครม์ หมายถึง กะหล่ำปลีมีครีม คือ รูปร่างเหมือนกำหล่ำปลีแล้วมีใส้ครีมข้างใน
 
 
 
 
 
 
 
ปี พ.ศ. 2443 ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเมืองไทย ได้ทำขนมชนิดนี้มารับประทานกัน

แล้วก็ทำขนมอีกอย่างหนึ่งที่ใช้แป้งชนิดเดียวกัน แต่เพิ่มสีสันและความหลากหลายมากขึ้น

นั่นก็คือ เอแคร์ (Eclair) ที่เราคุ้นชื่อมากกว่า แต่ขณะที่ทำขนมทั้งสองชนิดอยู่นั้น

มีสาวชาวไทย เข้าไปช่วยทำและถามชื่อขนมว่าคืออะไร ก็ได้รับคำตอบว่า

นี่คือ ชู อา ลาเครม์ ส่วนอีกคนก็นี่คือ เอแคร์ ซึ่งชื่อ ชู อา ลา เครม์ เรียกยากมาก

 จึงไม่นิยม และ คนไทยจึงได้เรียกชื่อ ขนม ทั้งสองชนิดรวมเป็นชื่อเดียวกันคือ เอแคร์

จนมาถึงปัจจุบัน
 
แต่ปัจจุบัน การเรียก ชู อา ลาเครม์ ก็ยาวเกินไป ชาวต่างประเทศเอง ก็เรียกให้สั้นลง

และ ง่ายต่อการออกเสียงเป็น ชู ครีม CHU~ CREAM  

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ที่มาของกิมจิ


สวัสดีค่ะ เรื่อยเปื่อย จริงๆ ช่วงนี้
เขียนบล็อกนี้ขึ้นมา หลายคนคงคิดว่า เราเก่งทำอาหาร ฮิ้วววว วว ~~ (แต่เปล่าเลย = =")
55555+ เคยแต่ซื้อสำเร็จรูป แล้วมาปรุงให้เป็นเมนูนั้น เมนูนี้แค่นั้นเอง
อย่าเพิ่งคิดในใจนะ ว่า "แล้วมาเขียนบล็อกนี้ทำไม"
ช่วงนี้ ละครเกาหลี อาหารเกาหลี บ้านเรามันก็มีมากมาย
เห็นแล้วก็อดใจไม่ไหว อยากจะกิน แต่ครั้นจะกินทุกวัน กระเป๋าคงแฟ่บ แน่ๆ !!
เราเลยอยากเขียนบล็อกแนะนำอาหาร ที่มี "กิมจิ" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเกาหลี
เผื่อว่าจะได้ทำกินเองได้ ไม่ต้องไปง้อร้านอาหารให้สิ้นเปลืองเงินทอง มากเกินไป ฮี่ๆๆ ^o^
แต่เราเองก็ไม่เก่งทำอาหารเอาซะเลยล่ะ
อย่างเพิ่งคิดว่า เราจะพึ่งพาได้นะ >,<" แค่อยากแบ่งปันอะไรดีๆ น่าทานๆ เท่านั้นเอง
ไปเลยๆๆ ^^
ก่อนอื่นเราก็มาทำความรู้จัก เจ้ากิมจินี่ซะหน่อย
เห็นหลายคนถกเถียงกันว่า มันเป็นอาหารของเกาหลีเค้า
หรือเป็นอาหารของคุณพี่ญี่ปุ่นกันแน่ !!
  
 เจ้ากิมจิ อันโด่งดัง
มีชื่อที่เขียนแบบภาษาเกาหลี แบบนี้ >> 김치
(อ่าๆๆ ~ มีเว็บไซต์ของพิพิธภัณฑ์กิมจิด้วยล่ะ >> http://www.kimchimuseum.co.kr/
เราผู้ไม่มีความรู้ด้านภาษาเกาหลี >,<" แต่เอามาฝากกัน เผื่อใครอยากเข้าไปกดดู คิคิ)
คำว่า "กิมจิ" จริงๆ แล้วในภาษาเกาหลีไม่มีคำนี้ค่ะ
 Gimchi หรือ Kimchi มีข้อสันนิษฐานกันว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "ชิมเช"
(ภาษาเกาหลี: 침채, ตัวฮันจา: 沈菜, chimchae หรือ chimchae)
ที่แปลว่า ผักดองเค็ม ค่ะ
กิมจิ เป็นอาหารเกาหลีประเภทผักดอง ที่อาศัยภูมิปัญญาก้นครัวของชาวเกาหลี
 ด้วยการหมักพริกสีแดง และผักต่างๆ โดยทั่วไป จะเป็นผักกาดขาว
 ชาวเกาหลีนิยมรับประทานกิมจิเกือบทุกมื้อ
และยังนำไปปรุงเป็นส่วนประกอบอาหารอีกหลายอย่าง
เช่น ข้าวต้ม ข้าวสวย ซุป ข้าวผัด สตู บะหมี่ จนถึงพิซซา และเบอร์เกอร์
ปัจจุบันกิมจิมีมากกว่า 187 ชนิด
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีรสเผ็ด เปรี้ยว และมีกลิ่นฉุน
แม้ในปัจจุบัน จะมีบริษัทอาหารผลิตกิมจิสำเร็จรูป หรือแบบสด ขายตามห้างสรรพสินค้าก็ตาม
แต่ชาวเกาหลีก็ยังนิยมทำกิมจิกินเองที่บ้าน
ฤดูกิมจิ
ฤดูใบไม้ผลิ นิยมรับประทานกิมจิน้ำ และกิมจิผักกาดขาว
ฤดูร้อน นิยมรับประทานกิมจิแตงกวาสอดไส้ และกิมจิยอดหัวไช้เท้าอ่อน
ฤดูใบไม้ร่วง จะนิยมรับประทานกิมจิหัวกะหล่ำ กิมจิหัวไช้ท้าว และ กิมจิอัลตาริ
ฤดูหนาว จะนิยมรับประทานหลากหลายชนิด ซึ่งจะเก็บกักตุนไว้เรียกว่า กิมจัง
การเลือกซื้อกิมจิ (สำหรับเป็นของฝาก)
หากต้องการแบบสด และธรรมชาติ ควรซื้อในวันที่เดินทางกลับบ้าน
เพื่อการเก็บรักษาที่นานขึ้น เนื่องจาก กิมจิจะเก็บไว้ในตู้เย็นไม่เกิน 2 เดือน
หากเก็บในช่องน้ำแข็งของตู้เย็น จะมีอายุนานขึ้น ที่สำคัญควรชิมรสชาติว่าถูกใจหรือไม่
กิมจิในสมัยอาณาจักรโคเรียว
กิมจิในสมัยอาณาจักรโคเรียวนั้นมีเพียง 2 ชนิด
 มีการค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับ "กิมจิ"
จากตำรายารักษาโรค ทางภาคตะวันออกของประเทศ
ที่เรียกว่า "ฮันยักกูกึบบัง" (Hanyakgugeupbang)
ในตำรากล่าวถึงกิมจิ แค่ 2 ชนิด
ชนิดแรก คือ หัวผักกาดฝานเป็นแผ่น ดองด้วยซอสถั่วเหลือง
เรียกว่า "กิมจิ-จางอาจิ" (Kimchi-jangajji)
ชนิดที่สอง ใช้หัวไชโป๊ เรียกว่า "ซุมมู โซกึมชอลรี" (Summu Sogeumjeori)
เป็นที่เชื่อกันว่า ได้มีการปรับปรุงรสชาติของกิมจิให้จัดจ้านขึ้น
อีกทั้งยังเริ่มได้รับความนิยม ว่าเป็นอาหารแปรรูป
จึงเริ่มมีการทำกิมจิตลอดทั้งปี โดยไม่กำจัดเฉพาะช่วงฤดูหนาวเหมือนก่อน
กิมจิสมัยโชชอน
สมัยก่อนกิมจิยังไม่เป็นสีแดงเหมือนในปัจจุบันค่ะ
 เล่ากันว่า "กิมจิ" ที่มีในสมัยโชซอน
ชาวบ้านจะใช้ผักใบเขียว มาดองกับเกลือ หรือเกลือกับเหล้าเท่านั้น
ซึ่งเรียกแบบนั้นว่า รสดั้งเดิม
 ในเวลาต่อมาช่วงต้นศตวรรษที่ 17 (หลังจากที่ถูกญี่ปุ่นรุกรานในปี พ.ศ. 2135)
จึงเริ่มมีการนำเข้าผักจากต่างประเทศ
สำหรับพริกแดงจากญี่ปุ่นนั้น นำเข้ามาโดยพ่อค้าชาวโปรตุเกส
 พริก จึงถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมอย่างหนึ่งในกิมจิ หลังจากผ่านไปแล้ว 200 ปี
ดั้งนั้น ราวปลายสมัยราชวงศ์โชซอนสีของกิมจิ จึงกลายเป็นสีแดง
ภายในราชสำนักโชซอน มีการทำกิมจิ เพื่อใช้ถวายต่อกษัตริย์
ซึ่งมีอยู่ด้วยกันสามชนิด ได้แก่ "ชอทกุกจิ" (Jeotgukji)
เป็นกิมจิที่ทำจากกะหล่ำปลี ผสมกับปลาหมักจำนวนมาก (ปลาหมักจะใช้เฉพาะคนชั้นสูงในสมัยนั้น)
"คักดูกิ" (kkakdugi) เป็นกิมจิทำจากหัวผักกาด ส่วนชนิดสุดท้าย คือ
"โชซอน มูซางซานชิก โยรีเจบ็อบ" (Joseon massangsansik yorijebeop)
 เป็นกิมจิน้ำตำราอาหารของราชสำนักโชซอน
มีเรื่องเล่าว่า.. กษัตริย์โกชอง (Gojong) กษัตริย์องค์รองสุดท้ายของโชซอน
ทรงโปรดก๋วยเตี๋ยวเย็นผสมในกิมจิน้ำ พร้อมด้วยน้ำซุปเนื้อในมื้อค่ำของช่วงฤดูหนาว
จึงได้มีการนำลูกแพร์มาเป็นส่วนผสมในกิมจิน้ำตำหรับพิเศษ
เพื่อใช้สำหรับทำก๋วยเตี๋ยวเย็นถวายพระองค์โดยเฉพาะ
กิมจิในปัจจุบัน
"กิมจิ" เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับชาวเกาหลี
ดังนั้นเวลามีการเดินทางในต่างแดน ก็ไม่ลืมที่จะพกกิมจิติดตัวไปด้วย
 "กิมจิ" จึงได้เริ่มแพร่หลายในวงกว้าง โดยช่วงแรกเริ่มเข้าไปในประเทศใกล้เคียงก่อน
คือ ประเทศจีน รัสเซีย รัฐฮาวาย และญี่ปุ่น
 โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศญี่ปุ่น ถือได้ว่าเป็นชาติแรกที่นำกิมจิเป็นเครื่องเคียงในอาหารของชาติตนเอง
โดยเรียกกิมจิของตนเองว่า คิมุชิ (Kimuchi)
เพื่อให้เข้ากับการออกเสียงในภาษาญี่ปุ่น
และกิมจิชนิดนี้ มีการเปลี่ยนแปลงรสชาติให้เข้ากับอาหารญี่ปุ่นมากขึ้น
ต่อมากิมจิจึงเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่ชาวต่างชาติในหลายประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และไทย
"กิมจิ" มีสัญลักษณ์ด้วยแหละ
ตัวสัญลักษณ์ "กิมจิ" สร้างขึ้นโดย..
องค์กรการค้าเกษตรกรรมและการประมงเกาหลี (Korea Agro-Fisheries Trade Corporation)
เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543 เพื่อส่งเสริมกิมจิแท้ จากประเทศเกาหลี
และสร้างความแตกต่างระหว่างกิมจิเกาหลี และกิมจิญี่ปุ่น (Kimuchi) ให้ชัดเจนขึ้น
ตัวสัญลักษณ์กิมจินี้ พบได้เฉพาะกิมจิแท้ของประเทศเกาหลี
ซึ่งต้องทำ และผลิตจากวัตถุดิบในประเทศเกาหลีเท่านั้น
โดยตัวสัญลักษณ์นี้ เป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศเกาหลี
และอีกหลายเมืองหลายประเทศทั่วโลก
ได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน ฝรั่งเศส สเปน สหราชอาณาจักร อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา
สิงคโปร์ เยอรมัน แคนาดา นิวซีแลนด์ ฮอลแลนด์ เปรู และประเทศไทย
กิมจิก็ดีต่อสุขภาพนะ
"กิมจิ" ถูกจัดเป็น 1 ใน 5 อาหารสุขภาพ โดยเฮลท์แม็กกาซีน (Health Magazine)
โดยให้เหตุผลว่า กิมจิ อุดมด้วยวิตามิน ช่วยในการย่อยอาหาร และอาจจะช่วยรักษาโรคมะเร็ง
 สรรพคุณในกิมจิ ได้มาจากหลายปัจจัย
เพราะว่ากิมจิทำมาจากผักกาดขาว หัวหอม และกระเทียม
ผักทั้งสามอย่างนี้ ก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ
"กิมจิ" ยังมีโปรไบโอติกส์แลคโตแบซิลลัส ที่ให้กรดแลคติก
หลังจากการหมัก เหมือนในโยเกิร์ตด้วย
อีกทั้ง กิมจิ มีพริกแดงเป็นส่วนผสมหลัก ซึ่งก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นกัน
แต่ !! สรรพคุณที่มีประโยชน์ของกิมจิ อาจจะเป็นโทษได้เช่นกัน
มีการศึกษาความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร
เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548
นักวิจัยชาวเกาหลีใต้ เปิดเผยว่ามีความเสี่ยงถึงร้อยละ 50
ที่อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งในกระเพาะ ถ้าบริโภคกิมจิ มากเกินไป
อัตราการเป็นมะเร็งในกระเพาะ ของประชากรเกาหลี และญี่ปุ่น
มีมากเป็นสองเท่าของประชากรในสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม แป้งฝุ่น และสารระคายเคืองในข้าวขาว ของทั้งสองประเทศ
อาจจะเป็นสาเหตุทางอ้อมในการเกิดมะเร็งก็เป็นได้
แต่ในการศึกษาบางชิ้นนั้น อ้างว่า..
การบริโภคกิมจิ มีส่วนช่วยในการลดการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร
 แม้กระนั้น ก็มีการศึกษาอื่นๆ อีกเช่นกัน ที่อ้างว่ากิมจิ (ที่มีส่วนผสมเป็นหัวผักกาด)
จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง และการบริโภคกิมจิเป็นจำนวนมากนั้น
จะได้รับเกลือ หรือน้ำปลาที่ใช้ในการหมัก และปรุงรสเป็นจำนวนมาก
ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพขึ้นได้ เช่นโรคความดันโลหิตสูง
กิมจิมีหลายชนิด ??
"กิมจิ" มีมากมายหลายชนิด จากเอกสารของพิพิธภัณฑ์กิมจิในโซล
 กิมจิ มีมากกว่า 187 ชนิด o_O
และกิมจิผักกาดขาว ก็ถือว่าเป็นกิมจิที่รู้จักกันมากที่สุดในนานาชาติ
ซึ่งจะเป็นการผสมผักกาดขาว พริกแดง กระเทียม ขิง
และน้ำซุบจากปลากะตัก (젓갈) เข้าด้วยกัน
ผักกาดขาวที่ใช้ควรจะเป็นผักกาดขาวจีน จึงจะได้กิมจิที่มีรสชาติดี และรสจัด
หากทำจากผักกาดขาวชนิดอื่น จะทำให้กิมจิมีรสชาติที่อ่อนลง
ประเภทของกิมจิขึ้นอยู่กับแต่ละถิ่นค่ะ เพราะจะมีการเพาะปลูกและสภาพอากาศที่แตกต่างกันไป
แต่ละครอบครัว ก็จะมีกิมจิสูตรเด็ดเป็นของตัวเองด้วยเหมือนกันนะคะ
ประมาณว่าสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นค่ะ
เหมือนการตำน้ำพริกบ้านเราเลย สูตรใครสูตรมัน ฮี่ๆๆ >.<
ในประเทศเกาหลีนั้น มีภูมิภาคต่างๆ ที่ให้ผลผลิตทางเกษตรกรรมที่หลากหลาย
และเจ้าพวกผลผลิตเหล่านี้เนี่ยแหละ ที่ทำให้กิมจิของแต่ละภูมิภาคต่างกัน !!
จังหวัดทางตอนใต้ของประเทศ จะมีการใช้เลือกอาหารทะเลมากกว่าที่อื่นค่ะ
ซึ่งทำให้กิมจิของที่นี่มีรสเข้ม และหวานกว่าที่อื่นด้วย
สำหรับในทางตอนเหนือของประเทศ กิมจิจะมีรสอ่อนกว่า และเค็มน้อยกว่าค่ะ
กิมจิชนิดแรกที่นำเสนอ คือ แบชูกิมจิ (Baechu Kimchi)
หรือ กิมจิผักกาดขาว นั่นเอง กิมจิชนิดนี้เป็นกิมจิหน้าหนาวที่เป็นที่นิยมมาก
วิธีทำก็จะใช้ "โซ" ซึ่งก็คือ เครื่องยัดไส้ ที่นำไปปั่น
แล้วเอามาทาไว้ ระหว่างใบของผักกาดแต่ละชั้น
แต่ถึงกระนั้น วิธีทำก็อาจแตกต่างในแต่ละภูมิภาค และกาลเวลาด้วยเหมือนกันค่ะ
ในสมัยก่อนนั้น กิมจิจะไม่มีรสเผ็ดร้อน แต่จะจืดชืดเสียมากกว่า
ในแทบตอนกลางของประเทศเกาหลี กิมจิก็จะเค็มและฉ่ำน้ำเหมือนกันค่ะ
 "โซ" จะถูกใช้ในการทำกิมจิผักกาดขาวจำนวนมากทีเดียว
ต่างจากทางเหนือที่จะไม่นิยมใช้ "โซ" แต่จะเติมเครื่องเทศ และเครื่องปรุงเข้ากับหัวไช้เท้า
และใส่ไว้ในผักกาดแทนค่ะ
สำหรับทางตอนใต้ จะใช้ "โซ" ผสมกับน้ำเกลือจากอาหารทะเล
และส่วนผสมที่ทำจากข้าว ซึ่งจะมีเนื้อเหนียวๆ คล้ายโมจิ ถูกทาไว้ทั่วผักกาดขาวค่ะ
มาต่อกันด้วย กิมจิชนิดที่สองค่ะ "คักดูกิ" (Kkadugi) เป็นกิมจิหัวไช้เท้า
 ในเกาหลี แม้ว่าหัวไช้เท้าจะหาได้ง่าย และมีตลอดทั้งปี
แต่หัวไช้เท้าในหน้าหนาว จะมีรสหวาน และเนื้อแน่นกว่ามากค่ะ
นี่คือเหตุผลว่าทำไมเครื่องเคียงที่ผ่านการหมักดองส่วนมากจะมีหัวไช้เท้าเป็นส่วนประกอบ
ถ้าอยากให้ คักดูกิ มีรสชาดที่อร่อยขึ้น
ก็ต้องใช้ใบสีเขียวของหัวไช้เท้า ตังฉ่าย ต้นหอม และเปลือกใบด้านนอกของผักกาดขาว
 และขอแนะนำกุ้งหมักด้วยนะคะ เพราะจะให้สี และกลิ่นที่เข้มกว่าปลากะตัก
 และหอยนางรม แต่ต้องระวัง เพราะอาจจะเสียง่ายค่ะ
ต่อมา นาบัคกิมจิ (Nabak Kimchi) จะเป็นการผสมระหว่างหัวไช้เท้าจีน กับผักกาดขาว
แล้วก็น้ำสต๊อคกิมจิค่ะ สำหรับกิมจิชนิดนี้ ยิ่งเผ็ดน้อย รสชาติก็จะยิ่งดีค่ะ
นาบัคกิมจิ สามารถหาทานได้ทุกฤดูตลอดทั้งปี
แต่ในส่วนของวิธีการทำ ไม่แนะนำให้ใช้ปลากะตักนะคะ
ใช้การโรยเกลือลงบนผักกาดขาว และหัวไช้เท้าให้เท่าๆ กันจะดีกว่าค่ะ
ไม่งั้นจะเค็มเกินไป และถ้าจะกลับมาแก้รสตอนหลังก็จะทำได้ยาก
ด้านส่วนผสมอื่นๆ ควรจะหั่น หรือทำให้เป็นชิ้นเล็กๆ จะดีที่สุด
เพราะว่าจะช่วยไม่ให้น้ำสต๊อคข้น หรือเหนียวเกินไปค่ะ
และไม่ควรใช้ส่วนที่เป็นสีเขียวของต้นหอม แต่ให้เลือกใช้ส่วนที่เป็นสีขาวล้างให้สะอาดแทน
เหตุผลก็เพราะว่า ส่วนสีเขียวจะมียางเหนียวๆ ของมันอยู่ค่ะ
แต่ถ้าอยากให้มีสีสันสวยงามก็ใช้ Minari หรือ ผักชีล้อมช่วยได้นะคะ
ใส่ไว้ในกิมจิ 1 วันก่อนทานค่ะ หรือถ้าไม่อยากให้เสียเวลา และเพื่อเป็นการรักษาเวลา
เราใช้วิธีต้มสต๊อคเอาเลยก็ได้ค่ะ พอมันเย็นลงก็เติมน้ำตาลลงไป 2 ช้อนโต๊ะนะคะ ^^

(ง่ะ~ Minari คือไรเอ่ย เราแอบ งง ผักชีล้อม ด้วย หมายถึงยังไง ใครเคยทำ บอกทีนะ >.<")
ต่อๆๆ โออี โซบักกิ (OI Sobaki) หรือ กิมจิแตงกวายัดไส้
จะเป็นที่นิยมมากในช่วงหน้าร้อน และดูใบไม่ผลิค่ะ
ความกรอบของแตงกวา และน้ำข้างในจะช่วยทำให้สดชื่นมากเลยล่ะค่ะ
โออี โซบักกิ อาจจะเสีย และบูดเปรี้ยวได้ง่ายหน่อยนะคะ
เพราะฉะนั้นเวลาทำก็ไม่ต้องทำเตรียมไว้เยอะนัก
และต้องระวัง เวลาวางแตงกวาในน้ำเกลือ เพื่อรักษาความแน่น และความกรอบของแตงกวาค่ะ
ถ้าไม่อยากให้ความฉุ่มช่ำหายไป ไม่แนะนำให้ใช้ปลาหมัก หรือ ปลากะตักเป็นส่วนประกอบนะคะ
 ให้ใช้หัวไช้เท้าอ่อนจะดีกว่า จะได้ทั้งรสชาติ และปริมาณที่มากกว่าด้วย

สารพัดเมนูกิมจิ (จากเว็บ http://weheartit.com)
Kimchi+Avocado
Kimchi Fried Rice
Kimchi Stew
Kimchi Fried Rice (Again)
Kimchi Stew with Bacon
Spring Onion Salad Kimchi

Kimchi (Rice Box) มันตรงตัวไปรึป่าว ถ้าผิด ขอโทษทีนะคะ >.<"!
Donut Kimchi
Kimchi Fries
Ramyun Kimchi
Kimchi Pajeon

ที่มาของCHEESE


"ชีส" มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน
 "caseus" ในภาษาละตินนี้ เป็นรากศัพท์ของคำว่า "เนยแข็ง" ในภาษาอื่นๆ อีกมากมาย
เช่น...
queso ใน ภาษาสเปน 
queijo ในภาษาโปรตุเกส 
keju ในภาษามาเลย์ 
cacio ในภาษาอิตาลี เป็นต้น...
ศัพท์คำนี้มีความหมายถึง ก้อนโปรตีนที่ได้จากน้ำนมวัว !!
เนยแข็ง หรือ ชีส (Cheese) เป็นสิ่งที่คนไทยมักจะเรียกว่า เนย ด้วยความเข้าใจผิด o_O"
เพราะเห็นว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากนมเหมือนกัน !!
แต่จริงๆ แล้วเนยแข็ง ไม่ ถือว่าเป็นเนย !!
เพราะ เนยแข็ง เป็นการนำเอาส่วน โปรตีน ของนมมาใช้แปรรูป
ต่างจาก เนย ที่นำเอาส่วนของ ไขมัน มาใช้
ดังนั้น.. ในทางโภชนาการ เนย และ เนยแข็ง จึงจัดว่าเป็นอาหารคนละประเภทกัน
เนยแข็ง หรือ ชีส มีวิธีการแยกเอาโปรตีนออกมาจากนม
โดยการเติมเอนไซม์ (enzyme) หรือเอนไซม์เรนนิน (rennin)
หรือชื่อทางการค้าว่า เรนเนต (rennet) ชนิดโปรติเอส (protease) 
 ที่สกัดได้จากกระเพาะของลูกวัวที่ยังไม่หย่านมแม่
กับ ไคโมซิน เอนไซม์ที่สกัดได้มาจากแบคทีเรีย
เมื่อใส่เอนไซม์เหล่านี้ลงไปในน้ำนมแล้ว
มันจะทำหน้าที่ย่อยโปรตีนเคซีน (casein) ชนิดแคปป้าเคซีน (K-casein)
ในน้ำนม ทำให้มีโมเลกุลเล็กลง โดยเรนนินจะย่อยเคซีน
แล้วรวมแคลเซียมไอออน แยกตัวออกมาเป็นตะกอนขาวขุ่น
จับตัวเป็นก้อน เรียกว่า เคิร์ด (Curd)
ก้อนโปรตีนหรือเคิร์ดที่ว่านี้ หากได้มาจากนมสดจะมีไขมันปนอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง
หากได้มาจากนมขาดมันเนย หรือนมพร่องมันเนย
ไขมันที่ติดมาจะมีน้อยลงจนแทบจะเป็นโปรตีนล้วนๆ
เมื่อนำก้อนโปรตีนนี้มาบ่มกับแบคทีเรียอีกครั้ง
ก็จะก่อให้เกิดเนยแข็งสารพัดชนิด แล้วแต่กระบวนการบ่ม
ส่วนในชั้นของเหลวเรียกว่า เวย์ (whey) 
เป็นส่วนที่มีคุณค่าทางอาหาร จึงถูกนำไปใช้เลี้ยงสัตว์, ทำเบเกอรี่ ,ใส่ในอาหารต่างๆ
อย่างที่เราเคยได้ยินว่า เวย์โปรตีน (whey protein)
เนยแข็งจึงจัดเป็นอาหารจำพวกโปรตีนเหมือนเนื้อสัตว์
ความแตกต่างของเนยแข็งแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับ
ประเภท และชนิดของน้ำนมที่นำมาใช้ในการผลิต
และประเภทของแบคทีเรียที่นำมาใช้ในการหมัก
รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บ
และยังขึ้นอยู่กับขั้นตอนของการผลิตที่แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป
นอกจากนี้.. การเพิ่มส่วนผสมเช่น สมุนไพร เครื่องเทศ
ยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายให้กับเนยแข็งด้วย
เนยแข็งเป็นอาหารที่มีประโยชน์หลายประการ และสามารถเก็บรักษาได้นาน
ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะ จำพวก โปรตีน แคลเซียม
ไขมัน วิตามินบี 12 สังกะสีและฟอสฟอรัส
เนยแข็งมีน้ำตาลแลคโตสในปริมาณที่ต่ำกว่าน้ำนม !!
ดังนั้น.. การรับประทานเนยแข็ง จึงส่งผลดีแก่ผู้ที่มีปัญหาในการดื่มนม >.<
เนื่องจากร่างกายขาดน้ำย่อยแลคโตส หรือมีน้ำย่อยชนิดนี้ในปริมาณที่น้อย
เมื่อดื่มน้ำนมเข้าไปแล้วร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้
ส่งผลให้เกิดการตกค้างของน้ำตาลแลคโตสในร่างกาย
การหมักหมมนี้จะทำให้เกิดแก๊สและกรดในที่สุด
ส่งผลให้ผู้รับประทานมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และท้องเสียในเวลาต่อมา
ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาในการดื่มนม สามารถหันมารับประทานเนยแข็ง หรือ ชีส  
 แทนได้โดยไม่เกิดอาการแพ้เหมือนการดื่มนม !! ^^
CHEESE.. History. Accidental .!!
เนยแข็งนั้นเกิดด้วยความบังเอิญจากการเดินทางของชนเผ่าเร่ร่อนเบดูอินในทะเลทราย
เนื่องจาก.. ชายอาหรับคนหนึ่ง ได้พยายามนำน้ำนมบรรทุกไว้บนหลังอูฐ
เพื่อใช้เป็นเสบียงอาหารระหว่างการเดินทาง
จึงนำ "กระเพาะอาหารของแพะ " มาใช้เป็นภาชนะบรรจุน้ำนม !!
ในขณะที่กำลังเดินทางนั้นกระเพาะอาหารของแพะ ได้รับความร้อนจากอากาศในทะเลทราย
และบวกกับการถูกเขย่าตลอดระยะทาง
ส่งผลให้เอนไซม์เรนนินในกระเพาะสัตว์ไปแยกน้ำ และไขมันในนมออกจากกัน
จนกระทั่ง.. เมื่อชายผู้นี้เกิดความกระหายหมายจะดื่มน้ำนมก็ต้องประหลาดใจ *-*"
เมื่อเค้าพบกับก้อนนมแทน !! ชายผู้นี้เลยนำก้อนนมที่ได้มารับประทานเป็นอาหารแทน
และกลายเป็นที่มาของการผลิตเนยและเนยแข็งในปัจจุบัน //
CHEESE.. History. with Evidence .!!
ในสมัยกรีกโบราณมีหลักฐานการบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลว่า..
อริสเตอุส บุตรชายแห่งเทพเจ้าอะพอลโลเป็นผู้ค้นพบวิธีการผลิตเนยแข็ง !!
แต่ !! ..ก็มีอีกหลายคนที่เชื่อว่าชนเผ่าเบดูอินเป็นผู้นำความรู้มาถ่ายทอดต่อให้กับโรมันโบราณอีกที
ถึงอย่างไร ชาวโรมันถือว่าเนยแข็งเป็นอาหารประจำวันที่สำคัญ
บ้านของชาวโรมันในสมัยโบราณ จะมีห้องสำหรับเก็บเนยแข็งทุกหลังคาเรือน
ทหารโรมันเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลอย่างมาก ในการเผยแพร่เนยแข็งให้คนทั่วโลกได้รู้จัก
เพราะเมื่อใดก็ตามที่กองทหารโรมันไปออกศึก
ทหารเหล่านี้มักจะแบ่งปันเนยแข็งส่วนหนึ่งให้กับทหารท้องถิ่นบริเวณนั้นด้วย
ดังนั้นเนยแข็งจึงถูกเผยแพร่เป็นที่รู้จักไปทั่วยุโรป
ต่อมาในสมัยกลาง..
บาทหลวงในคริสต์ศาสนาได้ผลิตเนยแข็งออกจำหน่าย
เพื่อเป็นการหารายได้เข้าโบสถ์
จากโบสถ์ที่เคยเป็นเพียงศาสนสถาน
ก็กลายเป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตเนยแข็งด้วย
หลังจากนั้นเป็นต้นมา.. เนยแข็งก็ได้รับการปรับปรุงรสชาติและกลิ่น
ไปตามความหลากหลายของวัตถุดิบในแต่ละท้องถิ่น
จนก่อให้เกิดเนยแข็งแบบดั้งเดิม (Traditional Cheese) ที่จะมีเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ
แต่เนื่องจากในแต่ละท้องถิ่นมีการผลิตเนยแข็งชนิดใหม่ๆ ออกมาอย่างสม่ำเสมอ
บวกกับในยุคนั้นเกิดการผลิตเนยแข็งในระบบโรงงานอุตสาหกรรมที่เน้นแต่ปริมาณผลผลิต
วิธีการทำเนยแข็งแบบดั้งเดิมจึงค่อยๆ สูญหายไป
ปัจจุบันนี้มีเพียง 6 ประเทศเท่านั้น !!
ที่ยังคงรักษาวิธีการผลิตเนยแข็งแบบดั้งเดิมไว้อยู่
ได้แก่ ประเทศ อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
โดยเฉพาะในประเทศอิตาลี และฝรั่งเศส
ที่มีระบบการันตีคุณภาพ และมาตรฐานของเนยแข็งแบบดั้งเดิม
ซึ่งช่วยรักษาเอกลักษณ์ของเนยแข็งมาจนถึงปัจจุบัน

เนยแข็งมีมากกว่า 3,000 ชนิดทั่วโลกเลยนะคะ o_O !!!
ดังนั้น.. เกณฑ์การแบ่งประเภทและชนิดของเนยแข็งจึงมีความหลากหลาย
เนยแข็งบางประเภท แม้จะมีลักษณะเหมือนกัน แต่ก็มีชื่อเรียกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น
ดังนั้นเนยแข็งจึงสามารถแยกออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ดังนี้ >>
Fresh Cheese
คือ เนยแข็งที่ไม่ต้องผ่านความร้อน และไม่ต้องหมักบ่ม
มีกลิ่น และรสไม่จัด แต่ออกรสเปรี้ยวอ่อนๆ เนื้อในนิ่มเป็นครีม มีความชื้นสูง
Cream Cheese
Feta Cheese

Mozzarella Cheese
เช่น Cream Cheese, Feta, Mozzarella, Ricotta, Cottage Cheese, Mascarpone
Soft-White Cheese
คือ เนยแข็งที่ทำจากนมที่มีความเข้มข้นของครีมสูง
เนื้อในจึงมีลักษณะเป็นครีมแข็ง ผิวนอกจะค่อนข้างบาง
เมื่อทานแล้วจะค่อยๆ ละลายในปาก มีความชื้นน้อยกว่าเนยแข็งประเภท Fresh Cheese
และจะต้องผ่านกระบวนการบ่มด้วยราสีขาวก่อนนำมาบริโภค
Brie Cheese
Camembert Cheese
เช่น Brie, Camembert, Neufchatel
Natural-Rind Cheese

คือ เนยแข็งที่ทำจากนมแพะตามแบบฝรั่งเศส
มีพัฒนาการมาจากเนยแข็งประเภท Fresh Cheese
แต่จะต้องผ่านการขับน้ำทิ้งมากกว่าจึงมีความชื้นน้อยกว่า
หลังจากการบ่มเนยแข็งประเภทนี้ จะมีรอยย่นพื้นบนผิวรอบนอกมาก
มีรสชาติที่เด่นขึ้นด้วย เนยแข็งประเภทนี้จะบ่มด้วยราสีฟ้าค่อนข้างเทา
มีจุดสีน้ำเงินออกน้ำตาลที่ผิวเนยแข็ง และเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะมีกลิ่นแรงขึ้นด้วย

Crottin de Chavignol Cheese
Sainte-Maure de Touraine Cheese
เช่น Crottin de Chavignol, Sainte-Maure de Touraine
Wash-Rind Cheese
คือ เนยแข็งผิวนอกมีความเหนียวและมีสีน้ำตาลส้ม
ซึ่งเกิดจากการล้างด้วยน้ำเกลือระหว่างการบ่ม มีตั้งแต่กลิ่นหอมจากเครื่องเทศไปจนถึงกลิ่นฉุน
Limburger Cheese
Munster Cheese
เช่น Herve, Limburger, Munster
Hard Cheese
คือ เนยแข็งที่แข็งเกิดจากการนำหางนมออกไปมาก
จนความชื้นในเนยแข็งเหลือเพียงเล็กน้อย เปลือกเนยแข็งจะหนา เนื้อแข็ง ใช้เวลาบ่มนาน
Cheddar Cheese
Emmental Cheese
Gouda Cheese
เช่น Cheddar, Emmental, Gouda, Pecorino, Romano, Beaufort
นอกจากการแบ่งประเภทชีสแบบนี้แล้ว
ก็ยังมีการแบ่งชีสตามแต่ละท้องถิ่นแยกย่อยออกไปอีกมากมายนับไม่ถ้วนค่ะ ^^
^^^^^^^^^^^^
เนยแข็งอุดมไปด้วยสารอาหารที่เหมาะสำหรับเด็กวัยเจริญเติบโต
เพราะเนยแข็งให้พลังงาน แคลเซียม และโปรตีนสูงงง.. งงง
โดยเฉพาะโปรตีน และแคลเซียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก
ช่วยเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง และป้องกันโรคกระดูกพรุน
อีกทั้งเนยแข็งยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพฟัน ช่วยป้องกันฟันผุ
โดยโปรตีนในรูปของแคลเซียม และฟอสฟอรัสในเนยแข็ง
จะเป็นตัวช่วยป้องกันสารเคลือบฟัน
อีกทั้งยังช่วยเพิ่มฟองน้ำลายที่ช่วยล้างกรด
และน้ำตาลในช่องปากอันเป็นสาเหตุของฟันผุ
แม้ว่าเนยแข็งจะมีปริมาณไขมันมากกว่าน้ำนม
แต่ก็เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนัก และคอเลสเตอรอล
แต่ชื่นชอบการรับประทานเนยแข็ง
ก็สามารถเลือกบริโภคเนยแข็งที่ทำจากนมไขมันต่ำ หรือปราศจากไขมันได้ตามท้องตลาดทั่วไป
โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง
มาดูเมนูชีส สำหรัคนรักชีสกันค่ะ >.<
ถ้าเห็นแล้วรับรองว่าจะต้องรีบไปหามาเอาเข้าปากเลยล่ะค่ะ !! ^^
Cheese Stick
Cheese Cake
Cheese Fries
Toast Sandwich Cheese
Nachos Cheese (คล้าย Potato Chips เลยเนอะ แต่มันคือ แผ่นข้าวโพดอบกรอบค่ะ)
Cheese Pita Bread
Cheese Cookie
Meat Cheese
Croque Monsieur, Cheese Ham
Salat Cheese
Pizza
Subs Cheese
Cake Cream Cheese
Cottage Cheese
Cucumber Cheese
Cheese Steak Sandwich
Cheese Bread, Honey
Cheese Brunch
Cheese Cake
Cheese Cake, Sauce Strawberry
Blueberry Cheesecake
Chocolate Cream Cheese
Green Tea Cheesecake
Oreo Cheesecake
Chocolate Caramel Cheese
Raspberry Cheesecake 

Carrot Cake Creamcheese
Cheese Tamatoes Olives
Salmon Creamcheese
Bagel Egg Cheese